บทความ

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี / คอมเมนต์ในภาษาซี / กฎการตั้งชื่อ

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี #include <stdio.h> ----(1) main () ----(2) { ..... ----(3) }           โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ส่วนหัวของโปรแกรม (Preprocessing Directives)           ส่วนหัวของโปรแกรมใช้เพื่อบอกให้คอมไพล์เลอร์กระทำการใดๆก่อนการแปลผลโปรแกรม โดยการกำหนดส่วนหัวของโปรแกรมจะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # (pound sign) เสมอ            คำสั่งที่จะใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ จากไดเร็คทอรี(ปกติคือไดเร็คทอรี include) ที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ #include "ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์"  คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ จากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์โค้ดโปรแกรม แต่ถ้าไม่พบจะไปค้นหาจากไดเร็คทอรีที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ 2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก            ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี...

ขั้นตอนการพัฒนาด้วยโปรแกรมภาษา C

รูปภาพ
ขั้นตอนที่ 1 เขียนโปรแกรม ( Source code)           ใช้โปรแกรม editor หรือโปรแกรมที่รองรับการเขียนภาษาซี เช่น Dev C++, Visual C++ เป็นต้น ใน การเขียนโค้ดภาษาซี และทำการบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .c เช่น test.c เป็นต้น ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรม (Compile)           นำ  Source code จากขั้นตอนที่ 1 มาทำการคอมไพล์เพื่อแปลภาษาซีที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ โดย คอมไพล์ภาษาซีคือ C  Compiler  จะทำการตรวจสอบ  Source code ทีเดียวตั้งแต่ต้นจนจบจากนั้นจึงแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่ามีความผิดพลาดใน  Source code หรือไม่ หากพบข้อผิดพลาด โปรแกรมจะแจ้งเป็นข้อความ error ให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบ ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องกลับไปแก้ไขโปรแกรม และทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่อีกครั้ง หากไม่พบข้อผิดพลาด คอมไพล์จะแปลไฟล์  Source code จากภาษาซีไปเป็นภาษาเครื่อง(ไฟล์นามสกุล  .obj) เช่น ถ้าไฟล์ Source code ชื่อ test.c ก็จะถูกแปลงเป็น test.obj ซึงเก็บภาษาเครื่องไว้เป็นต้น ขั้นตอนที่ 3 เชื่อมโยงโปรแกรม...

Introduction to C language

          ภาษา C พัฒนามาจากภาษา B และภาษา BCLP(Basic Combine Programming Language)  ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1972 โดย   เดนนิส ริดชี ( Dennis Ritchie) แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักจนกระทั้งในปี ค.ศ. 1978 Brian Kernighan ได้ร่วมกับ  Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานภาษา C โดยใช้ชื่อว่า  K&R(Kernighan&Dennis) และได้ร่วมกันเขียนหนังสือชื่อ " The C Programming Language" ขึ้นมาทำให้ภาษา C ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนแพร่หลายไปทั่วโลกจนมีบริษัทต่างๆสร้างและผลิตภาษา C ออกมาเป็นจำนวนมาก เกิดเป็นภาษา C ในหลากหลายรูปแบบเนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานสากลสำหรับภาษา C ดังนั้นในปี ค.ศ. 1988 Ritchie  และ Kernighan จึงได้ร่วมกับ  ANSI (American National Standard Institute) สร้างมาตรฐานภาษา C ขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดมาตรฐานในการสร้างภาษา C รุ่นต่อๆไป